🎒“การส่งเด็กหลุดจากระบบกลับห้องเรียน แล้วบอกให้เขาพยายามอีกครั้งโดยที่บริบทรอบตัวเด็กไม่มีอะไรเปลี่ยนไปเลย มันมีแต่โอกาสที่เด็กจะหลุดซ้ำในเวลาไม่นาน บทเรียนนี้ยืนยันได้ว่า การเรียนในระบบไม่ได้เหมาะกับเด็กทุกคน”

นี่คือคำยืนยันจาก ‘ผอ.สุทิสา สุธาบูรณ์’ แห่งโรงเรียนเนกขัมวิทยา จ.ราชบุรี หนึ่งในโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาที่มีทางเลือกในโครงการ ‘Thailand Zero Dropout’ ในการพัฒนาโมเดล ‘1 โรงเรียน 3 ระบบ’ เพื่อลดความเสี่ยงเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา พร้อมวางแนวทางให้เด็กที่หลุดออกไปแล้ว ให้สามารถกลับเข้าสู่เส้นทางพัฒนาตนเองได้ โดยไม่ย้อนกลับสู่วงจรเดิมซ้ำอีก

⭐“ทุกเทอมมีเด็กกลุ่มหนึ่งติด 0 ร. มส. เยอะมาก เพราะส่งงานไม่ครบหรือมีเวลาเรียนไม่พอ นี่คือปัจจัยเริ่มต้นที่จะลุกลามต่อเนื่องไปถึงการหลุดจากระบบการศึกษา

ข้อมูลนี้บอกอะไรบ้าง มันกำลังบอกให้เราย้อนกลับไปดู ‘เหตุ’ ที่นำไปสู่ ‘ผล’ ว่ามีเด็กจำนวนหนึ่งซึ่งเขาอาจ ‘ไม่พร้อม’ หรือ ‘เหมาะสม’ กับวิธีการเรียนรู้และประเมินผลในรูปแบบเดิมแบบเดียวที่เคยทำกันมาตลอด”⭐

‘ผอ.สุทิสา’ เล่าว่า ช่วงโควิดที่ผ่านมาเห็นปัญหาชัดเจน เมื่อนโยบายตามเด็กกลับมาเรียนสะท้อนว่า เด็กราว 7 ใน 10 คนที่หลุดไป อยู่กับครอบครัวที่เผชิญปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง ส่วนเปอร์เซ็นต์ที่เหลือปะปนกันไปด้วยเหตุอื่น ๆ เช่นมีปัญหาสุขภาพ การเดินทาง หรือตั้งครรภ์ในวัยเรียน

⭐“ใจความสำคัญคือเด็กทุกคนที่เสี่ยงหลุดหรือหลุดไปแล้ว วิถีชีวิตของเขาจะพลัดไปในอีกเส้นทางหนึ่ง บ้างไปทำงานหารายได้ บ้างติดตามผู้ปกครองไปอยู่ที่อื่น บ้างก็มีภาระเต็มเวลาจนกลับมาเรียนเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว เราจึงเริ่มคิดว่าแม้จะตามเด็กจนพบ แต่ถ้าจะพาเขากลับมาในขณะที่องค์ประกอบทุกอย่างไม่มีอะไรเปลี่ยน เชื่อเถอะว่าสุดท้ายผลลัพธ์ก็จะพาเราไปที่ตอนจบแบบเดิม ซึ่งคาดเดาได้เลยว่าเด็กจะหลุดซ้ำ …ดังนั้นโรงเรียนต้องเปลี่ยน”⭐

คำถามสำคัญคือ…จะเปลี่ยนอย่างไร?

📗ชวนอ่านต่อเนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์ของกสศ.ค่ะ : https://www.eef.or.th/article-250124/

#กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา#กสศ#ThailandZeroDropout#ZeroDropout#เด็กทุกคนต้องได้เรียน#การเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ชีวิต#1โรงเรียน3ระบบ#โรงเรียนเนกขัมวิทยา#การศึกษาที่มีทางเลือก

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!